วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2559 เอกสารลำดับที่ 1/2559





ทักทายกันก่อน......
สวัสดีครับผู้บริหารโรงเรียน และเพื่อนครูทุกท่าน ก่อนอื่นผมขอชี้แจงวัตถุประสงค์ของการทำสาร            ศน. เล่าเรื่อง ขึ้นมาเพื่อเป็นลู่ทางในการสื่อสารกับผู้บริหารและเพื่อนครู ในสพป.ชุมพร เขต 2 เกี่ยวกับเรื่องราวต่างๆที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียน และเขตพื้นที่ เป้าหมายสูงสุดคือการพัฒนานักเรียนของพวกเราทุกคน ผมทราบดีว่าน่ะวันนี้ ผู้บริหาร เพื่อนครู และศึกษานิเทศก์ ทุกคนมีลู่ทางการเรียนรู้ที่มากมายและเหมือนกัน ผมก็ขอเป็นลู่ทางหนึ่งแห่งการเรียนรู้ก็แล้วกันน่ะครับ ผมวางแผนว่าจะออกสารนี้เดือนละ 2 ครั้ง คือช่วงกลางเดือน และปลายเดือน จะใช้ภาษาที่อ่านง่าย ไม่เป็นทางการมากนัก ขอขอบพระคุณทุกท่านที่ให้โอกาส ครับ

สารฉบับแรก จะคุยเรื่องอะไรกันดี...
ไม่ได้บังเอิญ แต่ เป็นภาระงานที่ผมได้รับมอบหมายงานจากเขตพื้นที่ให้รับผิดชอบ ขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และได้พระราชทานให้ปวงชนชาวไทยทุกคน นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาใช้ในการดำเนินชีวิต แต่จะใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้ทุกคนต้องเข้าใจถึงหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงก่อน ผมเชื่อเหลือเกินว่าผู้บริหาร และเพื่อนครูมีความเข้าใจ เรื่องนี้อยู่แล้ว แต่คนที่ไม่เข้าใจพวกเราทราบหรือไม่ว่าใคร.....  ใช้แล้วครับนักเรียนในความครับผิดขอบของเรานั้นเอง ทาง ศูนย์สถานศึกษาพอเพียง สพฐ ร่วมกับมูลนิธิยุวสถิรคุณ จึงได้ทำการพัฒนา โรงเรียนให้เป็น สถานศึกษาพอเพียง มีคำถามต่อไปอีกว่า ทำไมต้องประเมินสถานศึกษาให้เป็นสถานศึกษาพอเพียง ผมขอตอบแทนผู้บริหารและเพื่อนครู เลยว่า เพราะ ในหลักสูตรแกนการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กำหนดให้นักเรียน

ต้องมีคุณลักษณะ จำนวน 8 คุณลักษณะ พอเพียง ก็เป็นคุณลักษณะหนึ่งในแปดตัว

ลองมาทบทวน ความรู้เกี่ยวกับ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กันสักหน่อยดี มั๊ยครับ
หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง บางตำราเรียกว่า ศาสตร์ของพระราชา บางตำราเรียก หลัก 2-3-4 เป็นหลักปรัชญาที่ชี้ถึงแนวการดำรงชีวิตและฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลางโดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวหน้าทันโลกยุคโลกาภิวัฒน์
ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใดๆอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอก

หลักหลัก 2-3-4 ที่ผมกล่าวมาข้างต้น คือ
          2 เงื่อนไข ได้แก่คุณธรรม และความรู้ สองเงื่อนไขนี้ต้องไปคู่กันขาดอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ได้
          3 ห่วง ได้แก่ พอประมาณ มีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี
          4 สมดุล ได้แก่ สมดุลในเรื่องของวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม

ทำอย่างไรให้เด็กนักเรียนที่พวกเราทุกคน รับผิดชอบมีความรู้ ทักษะ ปฏิบัติตน และดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อยู่อย่างพอเพียง

 สพป. ชุมพร เขต 2 ณ วันนี้
ได้รับประกาศให้เป็นสถานศึกษาพอเพียง จำนวน 64 โรงเรียน รอการประกาศ จำนวน 14 โรงเรียน และยังไม่ขอรับการประเมิน จำนวน 44 โรงเรียน ซึ่งโรงเรียนที่ยังไม่ได้ขอประเมินสถานศึกษา พอเพียง จำเป็นต้องขอประเมินสถาศึกษาเพียง ให้ได้ประกาศเป็นสถานศึกษาพอเพียง ภายในปี พ.ศ. 2560 และโรงเรียนที่ได้รับประกาศเป็นสถานศึกษามีระดับการปฏิบัติที่ยั่งยืนขนาดไหน ซึ่งเป็นโจทย์ ที่ทำให้ผู้รับผิดชอบในการขับเคลื่อนอย่างผมคิดหนักมาก แต่ทำอย่างไรได้ในฐานะผู้ปฏิบัติก็ต้องทำไป

ทำอย่างไร ถึงจะเป็นสถานศึกษาพอเพียง
          บุคคลที่จะมีส่วนขับเคลื่อนให้โรงเรียนเป็นสถานศึกษาพอเพียง ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้เกี่ยวข้อง ส่วนนักเรียนคือผลจากการดำเนินการของบุคคล ดังกล่าว ทุกคนต้องเข้าใจ ตระหนัก ปฏิบัติตน และหลักปรัญชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอยู่ในแววตา

          การบริหารสถานศึกษา ภายใต้ หลัก 2-3-4
สถานศึกษาต้องจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้อยู่อย่างพอเพียง สร้างวัฒนธรรมองค์กร ใช้ทรัพยากรอย่างพอเพียง ปลูกฝังให้เป็นวิถีชีวิต และชุมชนสัมพันธ์
          การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ภายใต้ หลัก    2-3-4
          เริ่มจากการกำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ชั้นปีในรายวิชาพื้นฐาน จัดทำหน่วย/แผนการจัดการเรียนรู้ จัดกิจกรรมการเรียนรู้ จัดทำสื่อ/แหล่งเรียนรู้ จัดทำเครื่องมือวัดและประเมินผล เกณฑ์การวัดผล
          กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ภายใต้ หลักหลัก 2-3-4
          แนะแนว จัดกิจกรรมแนะแนวในชั้นเรียน พร้องทั้งจัดบริการแนะแนวในโรงเรียน
          กิจกรรมนักเรียน ลูกเสือเนตรนารี ยุวกาชาด ผู้บำเพ็ญประโยชน์ โครงงาน ชมรม ชุมนุมต่างๆ
          กิจกรรมเพื่อสังคม และสาธารณะประโยชน์ เน้นการเห็นคุณค่าของการอยู่ร่วมกันในสังคม จิตสาธารณะ


จริงๆแล้ว ก็เป็นเรื่องที่พวกเราทำอยู่แล้ว ซึ่งเป็นงานหลักของผู้บริหารโรงเรียน และเพื่อนครู แค่จัดการให้อยู่ภายใต้ หลัก 2-3-4

เป้าหมายสูงสุด นักเรียนอยู่อย่างพอเพียง สมดุลและพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ
          สมดุลด้านวัตถุ เป็นการปลูกฝังให้ผู้เรียนรู้จักใช้วัตถุ สิ่งของ ทรัพยากรอย่างประโยชน์สูง ประหยัดสุด
          สมดุลด้านสังคม เป็นการฝึกผู้เรียนอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นด้วยความซื่อสัตย์ ไม่เบียดเบียน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
          สมดุลด้านสิ่งแวดล้อม เป็นการปลูกฝังผู้เรียนมีจิตสำนึกรักษ์ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
          สมดุลด้านวัฒนธรรม เป็นการให้ผู้เรียนเห็นคุณค่าของวัฒนธรรม ค่านิยม เอกลักษณ์ท้องถิ่น ความเป็นไทย

          เป็นไงบ้างครับผู้บริหารและเพื่อครูทุกท่าน ผมคิดว่าคงจะเห็นภาพของการดำเนินการสู่สถานศึกษาพอเพียง ในระดับหนึ่ง สิ่งที่ผมเขียน เป็นการเขียนเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในภาพกว้าง ส่วนในรายละเอียด ก็ต้องเจาะเป็นประเด็นๆไป เช่น การทำแผนพัฒนาการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี แผนการจัดการเรียนรู้ที่ สอดคล้องหลักภายใต้ หลัก 2-3-4 ผมมีความเชื่อเหลือเกินว่า ผู้บริหาร และเพื่อนครู ทุกคนทำได้ ถ้ามีหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอยู่ในแววตา มาช่วยกันน่ะครับ         เพื่อนักเรียน ลูกหลานของเราเอง เราจะได้มีสังคมที่สมดุล   สักที


                   ขอเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้น่ะครับ


                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น