วันจันทร์ที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2559 เอกสารลำดับที่ 2/2559



ทักทายกันก่อน......

สวัสดีครับผู้บริหารโรงเรียน และเพื่อนครูทุกท่าน สารฉบับนี้เป็นฉบับที่ 2 ทั้งนักเรียนทั้งเพื่อครู พึ่งได้ผ่านช่วงการสอบวัดผลระดับชาติ O-NET เมื่อวันที่ 27-28 กุมภาพันธ์ 2559 ที่ผ่านมากคราวนี้ก็อยู่ในช่วงลุ้นว่า ผลการสอบของลุกหลนนักเรียนของเรา ซึ่งจะประกาศผลการทดสอบผ่าน www.niets.or.th ของ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในวันที่ 28 มีนาคม 2559 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 วันที่ 29 มีนาคม 2559
“ผล O-NET เป็นงานที่เราจะต้องทำ 3 ปี ไม่ใช่งานที่ทำชั่วข้ามคืน ดังนั้นถ้าต้องการยกระดับผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน โรงเรียนจะต้องดำเนินการต่อเนื่อง กัน 3 ปี ผมขออนุญาตนำเสนอวิธีการยกระดับผลสัมฤทธิ์ ให้กับผู้บริหาร และเพื่อนครู เพื่อเป็นทางเลือกหนึ่งในการดำเนินการวางแผนยกระดับผลสัมฤทธิ์ ดังนี้1. วิเคราะห์ข้อมูลฐาน นั้นก็คือผลการสอบของนักเรียนปีที่ ผ่านมา2. วางแผนจัดกระบวนการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับมาตรฐานและตัวชี้วัด3. ให้ความสำคัญกับการวัดผลในชั้นเรียน ผมมีความเชื่อว่าการวัดผลในชั้นเรียนสำคัญกว่าการวัดผลระดับชาติ  ถ้าการวัดผลในชั้นเรียนมีประสิทธิภาพ ข้อสอบระดับชาติจะมาในรูปแบบไหน นักเรียนของเราก็ไม่หวั่น     นี้เป็นทัศนะส่วนตัวนะครับดังนั้นขอฝากถึงเพื่อนครู ว่าสิ่งที่ครูจำเป็นต้องมีคือ การวิเคราะห์มาตรฐาน และตัวชี้วัด การออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับมาตรฐานและตัวชี้วัด การวางแผนในการวัดผลในชั้นเรียน ผมเชื่อว่าถ้าครูทำแบบนี้ อีกสามปีข้างหน้า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนจะมีประสิทธิภาพแน่นอน ขอขีดเส้นใต้หลายๆครั้งว่างานนั้นเป็นงาน ระยะยาว ทำแค่ชั่วข้ามคืนเป็นไปไม่ได้”อีกเรื่องหนึ่งเกี่ยวกับการวัดผลก็คือเรื่องของการประเมินคุณภาพการศึกษาเพื่อประกันคุณภาพผู้เรียน หรือการสอบ NT ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  จะดำเนินการในวันที่ 9 มีนาคม 2559 ซึ่งเป็นการวัดความสามารถด้านการคิดคำนวณ  ความสามารถด้านภาษา และความสามารถด้านเหตุผล ของนักเรียน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็คือสิ่งที่เกิดขึ้นมาจากการบวนการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน และในโรงเรียนแทบทั้งสิ้น


สถานศึกษาพอเพียง.....
          บ่นเรื่องการสอบ O-NET และ NT ไปแล้ว มาพูดถึงเรื่องของสถานศึกษาพอเพียง ชื่อเต็มๆก็คือ “สถานศึกษาแบบอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ซึ่งทางเขตพื้นที่จะต้องขับเคลื่อนให้โรงเรียนในสังกัดทุกโรงเรียนเป็นสถานศึกษาพอเพียงภายใน ปี 2560 ซึ่งตอนนี้เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต ๒ ของเรา มีโรงเรียนที่ได้รับประกาศให้เป็นสถานศึกษาพอเพียง จำนวน 64 โรงเรียนรอการประกาศ จำนวน 14 โรงเรียน และยังไม่ขอรับการประเมิน จำนวน 44 โรงเรียน ซึ่งผมต้องการให้ 44 โรงเรียนที่เหลือ ได้รับการประเมินสถานศึกษาพอเพียง 100 เปอร์เซน ซึ่งทางเขตพื้นที่จะมีแนวทางในการดำเนินการดังนี้
          1. สถานศึกษาที่จะขอประเมินเป็นสถานศึกษาพอเพียง จะต้องเป็นโรงเรียนที่มีองค์ประกอบในการบริหารจัดการศึกษาครบตามเกณฑ์การประเมินสถานศึกษาพอเพียงมีการจัดการเรียนการสอนครบทุกชั้นตามประเภทของโรงเรียนและได้ขับเคลื่อนสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง “ผมเชื่อว่าทุกโรงเรียนได้ดำเนินการอยู่แล้ว” ประเมินตนเองว่าพร้อมและแจ้งเขตพื้นที่เพื่อขอรับการประเมิน ซึ่งทางเขตพื้นที่จะมีหนังสือราชการพร้อมกับแบบประเมินตนเองส่งยังโรงเรียน ในช่วงเดือนมีนาคม 2559
          2. เขตพื้นที่สรรหาและแต่งตั้งคณะกรรมการประเมิน จำนวน 3 หรือ 5 คน
          3. ดำเนินการประเมิน ช่วงมิถุนายน 2559
          4. ส่งผลการประเมิน ยังสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ก่อนวันที่ 30 กันยายน 2559 เพื่อขอรับรองจากคณะกรรมการกลั่นกรองประกาศให้โรงเรียน เป็นสถานศึกษาพอเพียง
          หวังเป็นอย่างยิ่งว่า โรงเรียนในสังกัดจะต้องเป็นสถานศึกษาพอเพียง ทุกโรงเรียนภายใน ปี 2560
โรงเรียนสุจริต….
           "... คุณธรรมที่ทุกคนควรจะศึกษาและน้อมนำมาปฏิบัติ มีอยู่สี่ประการ  ประการแรก  คือ การรักษาความสัจ  ความจริงใจต่อตัวเองที่จะประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์  และเป็นธรรม ประการที่สอง  คือ  การรู้จักข่มใจตนเอง  ฝึกใจตนเอง  ให้ประพฤติปฏิบัติอยู่ในความสัจความดีนั้น  ประการที่สาม  คือ  การอดทน  อดกลั้น  และอดออมที่จะไม่ประพฤติล่วงความสัจสุจริต  ไม่ว่าด้วยเหตุประการใด  ประการที่สี่  คือ  การรู้จักละวางความชั่ว  ความทุจริต  และรู้จักสละประโยชน์ส่วนน้อยของตน  เพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ของบ้านเมือง  คุณธรรมสี่ประการนี้  ถ้าแต่ละคนพยายามปลูกฝังและบำรุงให้เจริญงอกงามขึ้นโดยทั่วกันแล้ว  จะช่วยให้ประเทศชาติบังเกิดความสุข  ความร่มเย็น  และมีโอกาสที่จะปรับปรุงพัฒนาให้มั่นคงก้าวหน้าต่อไปได้ดังประสงค์ ..."
           พระบรมราโชวาทของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ  ในพระราชพิธีบวงสรวงสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า  เมื่อวันที่  5 เมษายน  พุทธศักราช 2555”

งานการศึกษาวันนี้....
          จะชวนผู้บริหารและเพื่อนครู พูดคุยกันเรื่องระบบการศึกษาในวันนี้ ว่าสภาพการจัดการศึกษาของเรานั้น มีโครงการมากมายที่หลั่งไหลสู่โรงเรียนซึ่งผมว่าทั้งผู้บริหารและเพื่อครูคงจะทราบดี จนทำให้พวกเราไม่ได้ทำงานหลัก
          ผู้บริหารก็ไม่ได้ทำงาน บริหารโรงเรียน
          ครูก็ไม่ได้ทำงานหลักของครู (ศึกษาหลักสูตร ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ วัดและประเมินผลในชั้นเรียน)
          แต่ถามว่า “งานที่เป็นนโยบายเราไม่ทำได้หรือไม่ ตอบได้เลยว่า ไม่ได้”
ผมเลยทิ้งเป็นข้อคำถาม ว่า เราจะทำอย่างไรกันดี ?
          เพื่อให้ผู้บริหาร ได้มาทำหน้าที่บริหาร อย่างเต็มเวลา เต็มศักยภาพ ได้บริหารการการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน บริหารกิจกรรมโรงเรียน และการสร้างสัมพันธ์ในชุมชน
          เพื่อให้ครูได้ วิเคราะห์ หลักสูตร  มีเวลาในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับนักเรียนที่รับผิดชอบ ดำเนินการวัดผลที่สอดคล้องกับกระบวนการเรียนรู้ แค่ชวนผู้บริหารและเพื่อนครู บ่นแค่นั้นเอง ครับ
          ขอเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้นะครับ


                                                                                                                                                                                                                                                                               





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น