วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ปีที่ 1 ฉบับที่ 8 วันที่ 31 กรกฎาคม 2559 เอกสารลำดับที่ 8/2559


            สวัสดีครับท่านผู้บริหารและเพื่อนครูทุกท่านผมเบี้ยวการเขียนสาร ศน. เล่าเรื่องไป 2 ฉบับ จริงๆแล้วไม่ใช่ไม่มีอะไรเล่านะครับ ผมมีเรื่องเล่าเยอะแยะมากมาย แต่ด้วยภาระงานที่เป็นที่ทราบกันดีทุกคนนะครับ ทั้งผู้บริหารและเพื่อนครู ตอนนี้มีงานต่างๆมากมายที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับพวกเราที่ทำหน้าที่ในการจัดการศึกษาให้กับลูกหลานของเรา ผมพอแค่นี้ดีกว่า เดี๋ยวจะติดลมยาวไปเสียอีก
          วันนี้มีเรื่องราวที่จะมาเล่าสื่อสาร ให้กับผู้ริหารและเพื่อนครูบางท่านคงจะแว่วๆมาบ้างแล้ว นั้นก็คือเรื่อง      “การประเมินและประกันคุณภาพการจัดการศึกษา” พอผมขึ้น หัวข้อนี้ท่านผู้บริหารและเพื่อครู ก็คงนึกถึง ว่าในรอบ 4 ปี ก็จะมีคนจะภายนอกประมาณ 3-5 คน เข้ามาในโรงเรียนเพื่อตรวจสอบเอกสาร และพิจารณาดูเอกสารต่างๆว่า การจัดการศึกษาของโรงเรียนเรานั้นมีคุณภาพควรแก่การรับรองจากองค์กรภายนอกหรือไม่ สภาพของผู้บริหารและเพื่อนครูก็ดูอิดโรยเนื่องจากไม่ได้หลับได้นอนจากการทำเอกสารต่างๆเพื่อรองรับการประเมิน
          ณ วันนี้ ทางสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้จัดทำร่างกรอบมาตรฐานเพื่อการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษา ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมีแนวคิดว่าในระดับสถานศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัดต้องมีความรู้ความเข้าใจและปฏิบัติตามหลักการของการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ดังนี้
               1. การประกันคุณภาพเป็นหน้าที่ของทุกคนที่ต้องปฏิบัติตามภาระงานที่ได้รับมอบหมาย
        2. การประกันคุณภาพมุ่งพัฒนาการดำเนินงานตามความรับผิดชอบของตนให้มีคุณภาพดีขึ้นเพราะผลการพัฒนางานของแต่ละคนคือผลรวมของการพัฒนาทั้งสถานศึกษา
          3. การประกันคุณภาพเน้นการพัฒนาคุณภาพโดยให้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องไม่ใช่ทำเพื่อรับการประเมินเป็นครั้งคราวเท่านั้น
          4. การประกันคุณภาพต้องเกิดจากความร่วมมือของบุคลากรทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องไม่สามารถให้ผู้อื่นดำเนินการแทนได้
          5. การประกันคุณภาพต้องเกิดจากการยอมรับและนำการประเมินคุณภาพการศึกษาไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
          ท่านผู้บริหารและเพื่อนครูลองพิจารณาการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนท่านดูว่าสอดคล้องกับหลักการ 5 ข้อข้างต้นผ่าน 8 องค์ประกอบของการประกันคุณภาพภายในหรือไม่ ถ้ายังไม่ทำ ก็ต้อง...............
          ทาง สพฐ. ได้จัดทำร่างกรอบมาตรฐานเพื่อการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษา ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยใช้ฐานคิดว่า ต้องเป็นมาตรฐานที่สถานศึกษาปฏิบัติได้ ประเมินได้จริง กระชับ และจำนวนน้อย แต่สามารถสะท้อนคุณภาพได้อย่าแท้จริง ข้อมูลที่ได้เกิดประโยชน์กับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาทุกระดับ ดังนั้น การกำหนมาตรฐานจึงเน้นที่คุณภาพของผู้เรียน คุณภาพของครู คุณภาพของผู้บริหาร และคุณภาพของสถานศึกษา และให้สอดคล้องกับมาตรฐานเพื่อประเมินคุณภาพจากภายนอกตามที่ได้กำหนดไว้ในกฎกระทรวงฯ ว่าด้วยระบบหลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2553 (ถ้าใครไม่ได้ศึกษาเรื่องนี้ลองไปหาอ่านดูนะครับ) สพฐ. ได้กำหนดมาตรฐานเพื่อประกันคุณภาพภายในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย 4 มาตรฐาน ดังนี้
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน หมายถึง ผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่แสดงออกถึงความรู้ ความสามารถ ทักษะตามหลักสูตรสถานศึกษา และมีพัฒนาการในด้านการอ่าน คิดวิเคราะห์เขียน สมรรถนะที่สำคัญ และคุณลักษณะ           อันพึงประสงค์
มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการของสถานศึกษา หมายถึง การดำเนินการบริหารและจัดการของสถานศึกษาที่ครอบคลุมด้านวิชาการ ด้านครู และบุคลากรทางการศึกษา ด้านข้อมูลสารสนเทศ และด้านสภาพแวดล้อมโดยเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อสร้างความมั่นใจด้านคุณภาพการศึกษา
มาตรฐานที่ 3 การะบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ หมายถึง การบวนการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรสถานศึกษาที่สอดคล้องกับบริบทของชุมชนและท้องถิ่น ตามความสนใจ ความต้องการ และความถนัดของผู้เรียนโดยใช้วิธีการที่หลากหลาย เพื่อให้เกิดการเรียนรู้เต็มตามศักยภาพของผู้เรียนแต่ละบุคคล สร้างโอกาสให้ผู้เรียนทุกคนมีส่วนร่วม มีการตรวจสอบและประเมินผลความรู้ตามความเข้าใจของผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และมีประสิทธิภาพ
มาตรฐานที่ 4 ระบบการประกันภายในที่มีประสิทธิภาพ หมายถึง การวางแผนระบบการจัดการคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียน ที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ร่วมรับผิดและรับชอบต่อผลการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน ส่งผลให้ผู้เกี่ยวข้องมีความมั่นใจต่อคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
          ถ้าผู้บริหารและเพื่อนครูพิจารณาความหมายของแต่ละมาตรฐานแล้ว จะเห็นว่ามันคุ้นๆ ใช่มั๊ยครับ เพราะมันอยู่ใน พรบ. การศึกษาทั้งหมดเลย ดังนั้น ลองวิเคราะห์การจัดการศึกษาของโรงเรียนเราดูว่ามันเป็นไปตามมาตรฐานนี้  หรือยัง
          เกณฑ์การตัดสินคุณภาพของมาตรฐานมี 4 ระดับ
                   ระดับ 4 ดีเยี่ยม
                   ระดับ 3 ดี
                   ระดับ 2 พอใช้
                   ระดับ 1 ปรับปรุง
          การตัดสินคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาโดยให้ตัดสิ้นจากผลการประเมิน 4 มาตรฐาน นำผลการประเมินรายมาตรฐานเหล่านั้นมาพิจารณาเป้นภาพรวมเพื่อตัดสินระดับคุณภาพของสถานศึกษาตามระดับคุณภาพ
          ผมขอนำเสนอรูปแบบการการประเมินแบบองค์รวม (Holistic Assessment) ซึ่งเป็นรูปแบบการประเมินหนึ่งที่จะเกี่ยวข้องกับการประเมินคุณภาพการศึกษาในอนาคตอันใกล้นี้
การประเมินแบบองค์รวม (Holistic Assessment) เป็นวิธีการให้คะแนนสิ่งที่จะประเมิน (ผลงาน กิจกรรม กระบวนการ องค์กร) ซึ่งมีความสัมพันธ์กันอยู่ภายใน โดยพิจารณาจากภาพรวมตามเกณฑ์หรือมาตรฐานที่กำหนดและมีการอธิบายระดับคุณภาพไว้ชัดเจน ด้วยวิธีการประเมินหลาย ๆ วิธี
ลักษณะของการประเมินแบบองค์รวม (Holistic)
1. ประเมินในภาพรวม                       
2.ให้คะแนนสิ่งที่ต้องการประเมินแบบกว้างๆโดยรวม 1 ค่า 
3. ใช้ในการประเมินผลงานหรือกระบวนการ ปฏิบัติงานที่มีความสัมพันธ์กันภายใน 
4. ประเมินและตัดสินใจได้รวดเร็ว 
5. ผู้ประเมินต้องมีทักษะและความรู้รอบและรู้ลึก (expert judgment)
          ซึ่งต่างจาการประเมินแบบแยกส่วน(Analytic) เหมือนที่เคยปฏิบัติมา
          ลักษณะของการประเมินแบบแยกส่วน(Analytic)
          1.ประเมินแยกเป็นประเด็นย่อย
2. ให้คะแนนสิ่งที่ต้องการประเมินแบบแยกส่วนในแต่ละองค์ประกอบหรือลักษณะสำคัญที่จาเป็น
3.ใช้ประเมินผลงานหรือกระบวนการปฏิบัติงานที่ซับซ้อนและต้องใช้มิติ/เกณฑ์หลายด้านสาหรับใช้บ่งชี้คุณภาพของงานจึงจะคลอบคลุมและชัดเจน
4. ใช้เวลาในการประเมินเพราะให้ความสำคัญกับการประเมินแต่ละประเด็นย่อย
5. ผู้ประเมินพิจารณาไปตามประเด็นทีละประเด็นตามที่กำหนด
          ฉบับนี้เอาไว้ค่านี้ก่อนนะ ครับ ท่านผู้บริหารและเพื่อครูสามารถติดตามข่าวคราวเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษาได้จาก เว็บไซด์ของสำนักทดสอบทางการศึกษา สพฐ. http://bet.obec.go.th/ 
                         
ขอเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้นะครับ


gg.gg/sornorpoo/                   

 http://supercpn2.blogspot.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น