วันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2559

ปีที่ 1 ฉบับที่ ๔ วันที่ ๓๐ เมษายน 2559 เอกสารลำดับที่ ๔/2559



        สวัสดีครับท่านผู้บริหารและเพื่อนครูทุกท่าน ช่วงนี้ก็ใกล้จะเปิดเทอม ไม่ทราบว่า แต่ละท่านได้พักผ่อนกันบ้างหรือยัง เพราะตอนนี้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำลังขับเคลื่อนงานนโยบายของ สพฐ. และกระทรวงในหลายๆ เรื่อง เช่น โรงเรียนประชารัฐ โรงเรียนดีประจำตำบล โรงเรียนในโครงการอื่นๆ อีกมากมาย ที่ท่านผู้บริหารและเพื่อนครูจะต้องเข้าร่วมกิจกรรม และรายงานการดำเนินการต่างๆ คิดแล้วผมเป็นห่วงจังเลย ว่าเพื่อนครูจะเอาเวลาไหนในการเตรียมความพร้อมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในช่วงเปิดภาคเรียนที่จะถึง ผมไม่ว่าจะออกไปนิเทศ โรงเรียนไหน หรือมีโอกาสพูดคุยกับเพื่อนครู ผมจะพูดอยู่เสมอว่า งานหลักๆ ของเพื่อนครู จริงๆแล้ว มีอยู่ 3 เรื่อง
          1. รู้และเข้าใจเรื่องของหลักสูตร          2. การออกแบบกระบวนการเรียนรู้          3. การวัดและประเมินผล          ผมเชื่อว่าถ้าเพื่อนครูทำ 3 เรื่องนี้ อย่างมีประสิทธิภาพ นักเรียนของพวกเราก็จะบรรลุตัวชี้วัด และมาตรฐานตามหลักสูตร แน่นอน
....ทบทวน....หลักสูตรหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน   มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี  มีปัญญา มีความสุข   มีศักยภาพในการศึกษาต่อ  และประกอบอาชีพ 
ในการพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานมุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด  ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะสำคัญ(5 สมรรถนะ) และคุณลักษณะอันพึงประสงค์(8 คุณลักษณะ) และเป็นที่ทราบกันดีว่าในหลักสูตรในกำหนดไว้ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ในแต่ละกลุ่มสาระจะมีมาตรฐานและตัวชี้วัดมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน มาตรฐานการเรียนรู้ระบุสิ่งที่ผู้เรียน   พึงรู้  ปฏิบัติได้  มีคุณธรรมจริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ ในส่วนของตัวชี้วัดเป็นตัวระบุสิ่งที่นักเรียนพึงรู้และปฏิบัติได้ รวมทั้งคุณลักษณะของผู้เรียนในแต่ละระดับชั้นซึ่งสะท้อนถึงมาตรฐานการเรียนรู้ มีความเฉพาะเจาะจงและมีความเป็นรูปธรรม  นำไปใช้ในการกำหนดเนื้อหา  จัดทำหน่วยการเรียนรู้ จัดการเรียนการสอน และเป็นเกณฑ์สำคัญสำหรับการวัดประเมินผลเพื่อตรวจสอบคุณภาพผู้เรียน ดั้งนั้นเมื่อพิจารณากรอบหลักสูตรข้างต้นแล้ว จำเป็นอย่างยิ่งที่ครูจะต้องมีความสามรถในการจัดกิจกรรมการเรียน เพื่อให้นักเรียนบรรลุตัวชี้วัดในแต่ละชั้นปี ก่อให้เกิดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ นักเรียนมีสมรรถนะตามหลักสูตร สามารถดำรงตนอย่างมีความสุขในศตวรรษที่ ๒๑  เพื่อนครูอาจจะบ่นหรือว่าผมเอาเรื่องเหล่านี้มาพูดทำไมในสารฉบับ นี้ ก็แค่เป็นการย้ำครับ

การออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้....มีการออกแบบการเรียนรู้ลักษณะหนึ่งที่ Wiggins และ Mc Thighe ได้เสนอรูปแบบการสร้างความเข้าไว้ ซึ่งผมคิดว่า เป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่มีความเหมาะสมกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่เพื่อนครูกำลังใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนานักเรียนของเราอยู่ในขณะนี้นั้นก็คือ Backward Design เนื่องจากการออกแบบการเรียนรู้ลักษณะนี้ คือ ใช้หลักของการกำหนดเป้าหมายเป็นฐานในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ ซึ่งเป็นที่ทราบของเพื่อครูอยู่แล้วว่า ในหลักสูตรฯ มีการกำหนดเป้ามาแล้ว นั้นก็คือ “มาตรฐาน ตัวชี้วัด คุณลักษณะอันพึงประสงค์ สมรรถนะ” นั้นเอง  3 องค์ประกอบง่ายๆของการออกแบบการเรียนรู้แบบ backward Design คือ1. กำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ เป็นความรู้หรือลักษณะที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับนักเรียน เป็นความรู้ที่ฝั่งเน้นและติดตัวนักเรียนไป
2. กำหนดหลักฐานการเรียนรู้ เป็นสิ่งที่ให้ผู้เรียนแสดงออกมาว่ามีความรู้ตามเป้าหมายที่กำหนด3. กำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ เป็นการกำหนดวิธีการว่าจะให้นักเรียนทำอย่างไร เพื่อแสดงออกว่านักเรียนมีความรู้ตามเป้าหมายที่กำหนด
ยกตัวอย่าง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯสาระที่ 4 ประวัติศาสตร์มาตรฐานการเรียนรู้ที่ 4.1 ตัวชี้วัดที่ ป.1/3

          * ขั้นการกำหนดเป้าหมาย ดังที่ผมกล่าวข้างต้นแล้วว่าในหลักสูตรแกนกลางได้กำหนด เป้าหมายมาให้แล้ว ดังนั้นในกรณีตัวอย่าง เป้าหมายก็คือ
มาตรฐานการเรียนรู้ที่ 4.1 ตัวชี้วัดที่ ป.1/3
          บอกประวัติความเป็นมาของตัวเองและครอบครัวโดยการสอบถามผู้เกี่ยวข้อง          * หลักฐานการเรียนรู้ คำสำคัญคือนักเรียน “บอก” ประวัติของตัวเอง และครอบครัว อะไรล่ะที่เป็นการแสดงออกว่านักเรียนบอกเรื่องเหล่านี้ได้ เช่น การเขียน    การวาด การเล่าเรื่อง แผนผังครอบครัว เป็นต้น ซึ่งนั้นคือหลักฐานการเรียนรู้          * กิจกรรมการเรียนรู้ คำสำคัญคือนักเรียน “สัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้อง” ชัดเจนกิจกรรมการเรียนรู้ในครั้งนี้จะต้องมีการสัมภาษณ์ นักเรียนจะต้องรู้จักตั้งคำถาม
          เมื่อเราวิเคราะห์ได้ขนาดนี้แล้ว ผมเชื่อได้เลยว่าเพื่อนครูสามารถที่จะออกแบบ และเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ แบบ Backward Design ได้อย่างสบาย สบาย

วัดอย่างไรดี....          ผมเห็นว่าการวัดผลในชั้นเรียนเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมาก เพราะจะทำให้เพื่อนครูประจักษ์ว่านักเรียนแต่ละคนที่เพื่อนครูรับผิดชอบนั้น บรรลุตามมาตรฐานการเรียนรู้ สะท้อนสมรรถนะสำคัญ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ หรือไม่  ผมขอ นำเสนอวิธีการวัดผลตามสภาพจริงให้เป็นทางเลือกกับเพื่อนครูนักวิชาการหลายท่านได้กล่าวไว้ว่า การวัดผลตามสภาพจริง “กระบวนการจัดเก็บข้อมูล รวบรวมข้อมูลวิเคราะห์ข้อมูล สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตัดสิน (Determine) ระดับของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนเมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์ผลความสำเร็จที่พึงปรารถนาหรือผลความสำเร็จตามมาตรฐานคุณภาพผลการเรียนรู้”          มีคำสำคัญ ก็คือ          1. ข้อมูล ข้อมูลในที่นี้ก็คือการแสดงออกของนักเรียน ชิ้นงาน ผลงาน พฤติกรรม ของนักเรียน          2. ระดับผลสัมฤทธิ์ คือ เป้าหมายที่ต้องการนั้นเอง          3. พิจารณาตัดสินเทียบกับเกณฑ์ หมายความว่าจะตัดสินผลได้ จะต้องมีการกำหนดเกณฑ์ที่ชัดเจน

          ฉบับนี้ เอาไว้แค่นี้ก่อนนะครับ ครั้งหน้า จะมาคุยต่อเรื่อง เกณฑ์การวัด และแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องอื่นๆอีกนะครับ...เกือบลืมครับ.....ผมได้จัดทำWebsiteเล็กๆไว้เพื่อเพิ่มช่องทางในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ชื่อ http://gg.gg/40n5e



          “ใกล้เปิดภาคเรียนแล้ว เพื่อนครูทำเรื่องเหล่านี้หรือยัง?

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น