วันศุกร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ปีที่ 1 ฉบับที่ 6 วันที่ 30 พฤษภาคม 2559 เอกสารลำดับที่ 6/2559


สวัสดีครับท่านผู้บริหารและเพื่อนครูทุกท่าน ช่วงนี้มีโรงเรียนหลายโรงเรียนในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ได้เข้าร่วมโรงเรียนต่างๆที่ ทาง สพฐ. และกระทรวงศึกษาธิการ กำหนด ไม่ว่าจะเป็น โรงเรียนแกนนำเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนดีประจำตำบล โรงเรียนสุจริต โรงเรียนในฝัน โรงเรียนจัดการเรียนรู้อาเซียน โรงเรียนประชารัฐ โรงเรียนในโครงการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ และโรงเรียนประเภทอื่นอีกมากมาย โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการต่างๆ เหล่านี้ เมื่อใกล้จะสิ้นปีงบประมาณ หรือสิ้นสุดโครงการในแต่ละปี ก็จะมีการนำเสนอ หรือให้โรงเรียนส่ง วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) อยู่เสมอ
          โรงเรียนก็จะมีคำถามตามมา ว่า เราจะเอาอะไรเป็น Best Practice ? เรา จะทำอย่างไรดี ? สาร ศน. เล่าเรื่อง ฉบับนี้ ผมขอแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเรื่องของ Best Practice

What’s Best Practice ?
          จากการศึกษาแนวคิดจากนักวิชาการ และเอกสารจากหลายๆ แหล่ง พอสรุปได้ว่า Best Practice คือ วิธีการทำงานที่ดีที่สุดในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งสามารถเกิดขึ้นใน    ทุกงาน และทุกหน่วยงาน มีช่องทางการเกิด หลายช่องทางทั้งเกิดจากผู้นำ ผู้ร่วมงาน ผู้เกี่ยวข้อง และผู้มีส่วนได้เสีย หรืออาจเกิดจากปัญหา และการริเริ่มสร้างสรรค์อย่างเป็นระบบและมีขั้นตอน
          ในโรงเรียนของเราอาจมี Best Practice อยู่แล้ว ทั้งด้านการบริหาร ด้านการจัดการเรียนการสอน หรือด้านอื่นๆ การที่เราจะพิจารณาว่าวิธีปฏิบัติใด เป็นวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ Best Practice หรือไม่ ควรคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ เป็นอย่างน้อย
          1. ภาระงานที่แท้จริงมีประโยชน์สูง คุ้มทุน
          2. ใช้เป็นมาตรฐานการปฏิบัติ

          3. ผู้เกี่ยวข้องมีความพึงพอใจ
4. มีบันทึก หรือการเขียนรายงาน
          5. ดำเนินการเพื่อการพัฒนาและเผยแพร่
          6. เป็นประโยชน์ต่อภาระงาน ถ้าเป็นในโรงเรียนก็จะเป็นประโยชน์ต่อการบริหาร การจัดการเรียนการสอน

กระบวนการจัดทำ Best Practice ดังนี้
          1. การกำหนดเป้าหมายเชิงเนื้อหา
          2. การศึกษาพื้นฐานของประเด็นเนื้อหา (เอกสาร แนวคิดที่เกี่ยวข้อง)
          3. วางแผน หาแนวทางกำหนดรูปแบบของตัวแบบในการเก็บรวบรวมข้อมูล
          4. การเก็บข้อมูลตามแผน/แนวทางที่กำหนด
          5. นำข้อมูลมาวิเคราะห์เปรียบเทียบข้อมูลอดีต/ผลในปัจจุบัน
          6. แก้ไขปรับปรุง
          7. นำไปทดลองปฏิบัติซ้ำจนกว่าจะได้คำตอบหรือแนวทางที่ดีที่สุดสำหรับการแก้ปัญหาหรือดำเนินกิจกรรมนั้นๆได้จริง
          8. จัดทำระบบข้อมูลและบันทึกองค์ความรู้
          9. เผยแพร่ประชาสัมพันธ์สร้างการเรียนรู้

How to…. Best Practice ?
          ในการดำเนินการจัดทำ Best Practice ของโรงเรียนสรุปขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้
          1. โรงเรียนกำหนดกรอบและแนวทางในการศึกษา กำหนดเกณฑ์ในการวิเคราะห์ผลงาน แหล่งข้อมูลที่จะจัดทำ Best Practice
          2. โรงเรียนพิจารณาผลงานที่ประสบความสำเร็จ มีเครื่องยืนยันผลงานที่ประสบความสำเร็จเป็นที่ยอมรับ น่าเชื่อถือ
3. จัดทำแผนการจัดทำ Best Practice ซึ่งประกอบด้วย วิธีเก็บข้อมูล เครื่องมือเก็บข้อมูล ระยะเวลาการประสานงาน การวิเคราะห์ข้อมูล การจัดทำเอกสาร การนำเสนอ Best Practice
          4. การจัดทำ Best Practice แบ่งการนำเสนอ     เป็น 3 ส่วนย่อย ดังนี้
          ส่วนที่ 1 ผลงานที่สำเร็จ ภาคภูมิใจ ให้โรงเรียนระบุชื่อผลงาน ซึ่งอาจะเป็นสื่อ  กระบวนการ รูปแบบ ด้วยวิธีการค้นหา Best Practice เพื่อพิจารณาดูว่า พบแล้ว ใช่แล้ว และคิดว่าเป็น Best Practice ของโรงเรียนจริงๆ สิ่งที่ช่วยให้โรงเรียนได้ค้นหาง่ายขึ้น ให้เอาเรื่องเหล่านี้ไปใช้ในการพิจารณา ได้แก่
                   1. การวิเคราะห์บริบท ความคาดหวังของโรงเรียน ชุมชน ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
                   2. พิจารณาว่าสิ่งที่ดำเนินการนั้นครบวงจร PDCA หรือไม่
                   3. ขั้นตอนนั้นเป็น “นวัตกรรม” หรือไม่
                   4. คำถามที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรม คือ นวัตกรรมคืออะไร  นวัตกรรมทำอย่างไร นวัตกรรมทำเพื่ออะไร
                   5. วิเคราะห์ปัจจัยที่สำเร็จและบทเรียนที่ได้เรียนรู้
          ส่วนที่ 2 ข้อมูลที่ยืนยันความสำเร็จให้โรงเรียนระบุร่องรอย เอกสาร หลักฐาน ที่ยืนยันความสำเร็จของผลงาน/นวัตกรรม (ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับโรงเรียนว่าได้ทำ Best Practice เกี่ยวกับเรื่องอะไร)
          ส่วนที่ 3 วิธีการทำ ให้โรงเรียนอธิบายกระบวนการทำหรือกระบวนการผลิต โดยระบุกิจกรรมตั้งแต่เริ่มต้นจนสำเร็จ โดยมีรูปแบบการเขียนดังนี้
          1) ข้อมูลทั่วไป
          2) สรรพคุณของผลงาน ว่า ดีอย่างไร ซึ่งสามมารถเขียนได้เป็น 2 ส่วน คือ
                   - ขั้นตอนการดำเนินงาน หรือ แผนภูมิ (Flow Chat) ของระบบงานที่ทำ
                   - วิธีการและนวัตกรรมที่เป็น Best Practice หรือ อาจเขียนบอกเล่าขั้นตอนการดำเนินงานตั้งแต่ต้นจนสำเร็จเป็นผงงานที่เป็นเลิศในรูปความเรียงก็ได้
          3) ปัจจัยที่เกื้อหนุน ให้เกิดเป็น Best Practice และบทเรียนที่ได้รับ
4) ผลการดำเนินงาน ควรเน้นตัวชี้วัดที่สำคัญ ๆ (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน หรือ ผลที่เชื่อมโยงไปสู่นโยบายต่างๆ ) ที่แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงการดำเนินงานจนเกิดความสำเร็จ และอาจมีภาพแผนงานในอนาคตด้วยก็ได้ ทั้งนี้อาจะอยู่ในรูปของตาราง กราฟ แผนภูมิ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของข้อมูลที่จะแสดง

          จากการที่ผมได้รวบรวม และสรุปการพัฒนา Best Practice ข้างต้น หวังว่าจะเป็นประโยชน์ให้กับผู้บริหาร และเพื่อนครู ได้มีแนวทางในการพัฒนา หรือค้นความวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ ในงานที่ผู้บริหาร และเพื่อนครูปฏิบัติกันอยู่

                                                      สำหรับฉบับนี้ ผมขอจบด้วย

วาทะของท่าน มหาตมะ คานธี 

ซึ่งอาจไม่ได้เกี่ยวข้องกับการศึกษาโดยตรง แต่ก็เป็นหลักปรัชญาแห่งการเรียนรู้ และการเข้าใจธรรมชาติของมนุษย์
         
          If we want to reach real peace in this world,
we should start educating children”
                                       Mahatma Gandhi 


                           ขอเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้นะครับ             

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น